พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ.๒๕๕๐
ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการ
ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
แล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๘ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๕๕๐
พระราชบัญญัตินี้
จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป
เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ
คือผู้ให้บริการ
ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร
ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านควรจะทราบและระมัดระวังใน
สิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ
๙ ประการ
ผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการ อาจจะเป็นท่าน หรือหน่วยงานของท่าน
ผู้ให้บริการมีหน้าที่และสิ่งที่ต้องทำมากกว่าบุคคลทั่วไป
สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจ คือ
- ผู้ให้บริการ
นอกจากจะหมายถึง Internet Service Provider ทั่วไปแล้ว ยังหมายถึง ผู้ดูแลเว็บ
และครอบคลุมถึงหน่วยงานที่มีการจัดบริการออนไลน์
บริการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายทั่วไปในหน่วยงานของตนเองอีกด้วย เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตเจ้าของเว็บไซต์
รวมทั้งเจ้าของเว็บบอร์ด ล้วนแล้วเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ให้บริการทั้งสิ้น
หากท่านเปิดบริการให้สาธารณชน เข้ามาใช้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
หรือสามารถแพร่ข้อความ ภาพ และเสียง ผ่านเว็บที่ท่านเป็นเจ้าของ
- ผู้ให้บริการตามกฎหมายนี้
ต้องทำตามหน้าที่ของ ผู้ให้บริการ
ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯนี้ กล่าวคือ
- "
มาตรา ๒๖
ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
- ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง...
- ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรานี้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท"
หลักในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้
ในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ให้น่าเชื่อถือ
ขอให้ท่านยึดหลักการง่ายๆดังนี้
- ข้อมูลที่เก็บ
ต้องมีรายการที่สามารถระบุว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นใคร
เข้ามาทางเครือข่ายทางประตูใด มีหมายเลข IP อะไร ใช้โปรแกรมประยุกต์อะไร
ในห้วงเวลาใด
- นาฬิกา
ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
ต้องมีการตั้งเวลาให้ตรงกับนาฬิกาอะตอมที่ใช้อ้างอิง เช่น ที่ NIST (
สหรัฐอเมริกา) กรมอุทกศาสตร์ (กองทัพเรือ) สถาบันมาตรวิทยา
(กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หรือใช้เทียบเวลากับเครื่อง time server
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายทั่วไป
รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานทั่วไป
สามารถตั้งเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานโลกได้ด้วยความแม่นยำในระดับ 1
มิลลิวินาทีหรือดีกว่านี้
- ข้อมูลจราจร
ต้องมีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไข
หรือสื่อข้อมูลเสื่อมคุณภาพ ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน
ขอแสดงความขอบคุณ
NECTEC PEDIA
(http://wiki.nectec.or.th)
สำหรับข้อมูลและเนื้อหา >
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
ผลิตภัณฑ์
Symmetricom ,Brandywine
,Masterclock ,GPS network time
server เพื่อรองรับพระราช
บัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
Model
S-600 ,S650 ,NTP800 , NTP80,M212 ,
NTV-100RG , NTP80plus ,GMR5000 ,RMR1000,GTT100,GTT200,GTT400
Tel 02-530-1651-3 ต่อ 121 มือถือ 081 877 2540(
ฝ่ายวิศวกรรม )
|